ดูผลงานคลิ๊กที่ลิงค์ค่ะ

สอบถามรายละเอียด โทร 083-5666259 caidirect@hotmail.com

วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

E-learning การเรียนการสอนในโลกอนาคต

หากจะกล่าวถึงการเรียนการสอนในอดีตที่ผ่านมา คงจะย้อนไปถึงยุคที่คุณครูพกไม้เรียวมาโรงเรียน ไม่รู้ว่าสมัยนี้เป็นยังไงบ้าง ไม่ได้เห็นภาพเหล่านั้นมานานมาก ๆ แล้ว เพราะยังไม่เคยเข้า รร.ประถมซะที เด็กจะดีต้องมีครูช่วยขัดเกลา อันนี้รับประกันได้ว่าจริงแท้แน่นอน
เกริ่นหัวข้อว่า "E-learning การเรียนการสอนในโลกอนาคต" แต่่เมื่อย้อนกลับสู่อดีต หากจะให้เรามานั่นเรียนผ่านอินเตอร์เน็ตกันตลอดเวลา สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเรียนการสอนจะหายไป นั่นก็คือ อารมณ์ เด็ก ๆ จะเรียนผ่านคอมพิวเตอร์ ทุก ๆ วิชา ทำอย่างไรก็จะไม่ได้สัมผัสถึงสิ่งนั้น ความรักของครูที่อยากจะให้นักเรียนของตนเป็นคนดี รู้จักผิดชอบชั่วดี เด็ก ๆ ก็จะไม่ได้รับรู้ถึง E-learning สอนเด็กได้เพียงแค่ทฤษฎี เด็กจะได้แต่จินตนาการ ถึงสิ่งที่คอมพิวเตอร์กำลังสอน กล่าวมาถึงตรงนี้ บอกได้คำเดียวว่า E-learning จะเป็นได้เพียงแค่สื่อสำหรับทบทวนนอกเวลาเรียนเท่านั้น คงไม่สามารถมาแทนครูไ้ด้ คงไม่สามารถมาแทนโรงเรียนได้ แต่สื่อ E-learning จะเป็นสื่อที่ดีที่สุดในอนาคต รองจากหนังสือ เอ๊ะ ทำไมถึงรองจากหนังสือล่ะ ตามความเห็นของดิฉันนะคะ หนังสือดีกว่า E-learning นิดเดียวตรงที่ มันไม่ต้องใช้เทคโนโลยีในการเปิด ไฟดับก็เปิดได้ อยู่บนรถก็เปิดอ่านได้ อ่านในห้องน้ำได้ เบื่อก็ซื้อเล่มใหม่ แต่ แต่ แต่ พอเขียนมาถึงตรงนี้ อยากจะแนะนำให้รู้จัก amazon kindle ค่ะ ใครเก่งภาษาอังกฤษ ก็ลองเข้าไปอ่านดูนะคะ มันเป็นเครื่องสำหรับอ่าน Ebook ยุคใหม่ แห่งค่าย Amazon.com เลยล่ะค่ะ เล็ก เบา พกพาง่าย อ่านผ่านwifi อัพเดต ข้อมูลข่าวสารง่าย ๆ เห็นแล้วก็ต้องบอกว่า อัจฉริยะจริง ๆ เมื่อก่อน ใช้โน๊ตบุ๊คอ่าน Ebook หรือ E-learning ได้ แต่ตอนนี้ ถ้าจะ อ่านเฉย ๆ ไม่ต้องเปิด โน๊ตบุ๊คแล้ว เปิด kindle แทน
คุณครูไม่ต้องห่วงหรอกนะคะ ไม่มีอะไรทดแทนคุณครูได้หรอกค่ะ เด็ก ๆ ก็คือคน คือมนุษย์ ต้องการการปลูกฝังที่ดี คงไม่มีใครปล่อยให้สื่อที่ควบคุมไม่ได้อย่าง อินเตอร์เน็ต เข้ามาสอนเด็ก จนกว่าเด็กจะพร้อม เด็กทุกคนไม่เหมือนกัน ต้องการการเอาใจใส่ การสอน แตกต่างกัน คอมพิวเตอร์มันไม่รู้หรอกคะ มีแต่ครูเท่านั้นที่มองออก ว่าใครควรจะได้อะไร แต่สื่อ E-learning จะเป็นทางเลือก สำหรับการเข้าใจที่ง่ายกว่าหนังสือ เป็นสื่อที่จะใช้ประกอบการเรียนการสอน เราคงปฏิเสธไม่ได้หรอกค่ะ เอาไปใช้ให้ถูกทาง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เด็กไทย พัฒนาไกลสู่สังคมโลก
บทสรุป ตอนจบนะคะ คงไม่มีอะไรจะฝากนอกจากข่าวสาร ว่า รับทำ E-learning นะคะ ด้วย โปรแกรม Flash แล้วก็รับทำสื่อ CAI ยังรับเหมือนเดิม ทำ Flash Presentation ด้วยค่ะ ลูกเล่นแพรวพราว ตื่นตาตื่นใจ แน่นอนค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI

บทความคัดลอกมาจาก http://www.school.net.th/library/snet1/software/cai/index.html
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer Assisted Instruction)
หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า CAI จะเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับผู้ที่อยู่ในวงการการศึกษาเพราะปัจจุบันมีผู้สนใจศึกษาและพัฒนา โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกันเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ระดับโรงเรียนจนถึงระดับมหาวิทยาลัยตลอดจนหน่วยงานต่างๆ บริษัทคอมพิวเตอร์ หลายแห่งได้มีการลงทุนพัฒนาในเรื่องนี้ นอกจากนี้ยังมีผลงานวิจัยอีกจำนวนมากที่ทำการศึกษาวิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในการประชุมวิชาการเรื่อง การนำเสนอคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์" ซึ่งสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดเป็นประจำทุกปี ได้พบว่ามีผู้สนใจเข้าร่วมประชุมและเสนอผลงานอย่างมากมาย จึงเป็นนิมิตหมายอันดีสำหรับวงการการศึกษาที่จะมีการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่อีกรูปแบบหนึ่ง คือคอมพิวเตอร์
นักการศึกษาพยายามที่จะนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน (Instructional Computing Material) การพัฒนาสื่อการสอนคอมพิวเตอร์นี้ส่วนใหญ่เน้นที่การจัดทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI Software) การทำงานโดยใช้โปรแกรมควบคุม ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเป็นสื่อการสอน ที่มีความยืดหยุ่นมากกว่าสื่อการสอนประเภทอื่นๆ การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีลักษณะใกล้เคียงกับการพัฒนาสื่อการสอนทั่วไป คือมีขั้นตอนในการพัฒนาเพื่อให้ผลงานที่ได้ตรงกับจุดประสงค์ที่ตั้งไว้และคุ้มค่าใช้จ่ายที่ลงทุน
ปัจจุบันในประเทศไทยถึงแม้ว่าจะมีการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจำนวนมากแต่เนื้อหายังซ้ำๆ และวนเวียนอยู่ในเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ ปัญหาสำคัญคือ คุณภาพของโปรแกรมไม่ดีเท่าที่ควร จึงไม่สามารถประยุกต์ใช้แบบต่อเนื่องในการเรียนการสอนสาเหตุใหญ่ที่ทำให้โปรแกรม ไม่มีคุณภาพ คือ ขาดการวางแผนขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญควรแก้ไขโดยเร่งด่วน
ดังนั้นบทความนี้จึงจะกล่าวถึงขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่จะเป็นแนวทางอันหนึ่ง ในการวางแผน และเตรียมการในการเขียนและปรับปรุงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ลำดับขั้นการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

แบ่งออกเป็น 8 ขั้นตอน ดังนี้
1. ระบุเหตุผล
หลังจากที่เลือกเนื้อหาวิชาที่จะทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแล้ว จะต้องสามารถตอบคำถามต่อไปนี้ให้ได้
- ทำไมเลือกเนื้อหานี้ มีปัญหาในการสอนหรือไม่และมีเนื้อหาที่เร่งด่วนกว่านี้หรือไม่
- ทำไมต้องใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ใช้สื่อประเภทอื่นที่ราคาถูกกว่าได้หรือไม่
ถ้าตอบคำถามทั้งสองคำถามไม่ได้หรือน้ำหนักของคำตอบไม่หนักแน่นพอ ควรยกเลิกการทำโปรแกรมดังกล่าว

ตัวอย่างการระบุเหตุผล
โปรแกรมสาธิตการทดลองของทอมสัน(Thomson's Experiment)
การสอนเรื่อง "ทางเดินของลำอิเล็กตรอนในสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า" เป็นเนื้อหาที่ค่อนข้างจะสอนยาก เนื่องจากนักเรียน ไม่สามารถมองเห็นภาพจริงแม้จะมีอุปกรณ์ทดลอง คือหลอดรังสีแคโทด แต่มีราคาแพงและอันตราย เนื่องจากใช้ไฟฟ้าแรงสูง โปรแกรมสาธิตการทดลองของทอมสันจะทำหน้าที่จำลองการทำงานของหลอดรังสีแคโทด โดยแสดงทางเดินและความเร็วของ ลำอิเล็กตรอนเมื่อเปลี่ยนขนาดและทิศทางของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก

2. กำหนดวัตถุประสงค์
เป็นการกำหนดคุณสมบัติและสิ่งที่คาดหวังจากผู้เรียนก่อนและหลังการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การกำหนดวัตถุประสงค์ ควรจะระบุสิ่งต่อไปนี้
- ความรู้พื้นฐานของผู้เรียน ก่อนที่จะใช้โปรแกรม
- สิ่งที่คาดหวังจากผู้เรียน หลังจากที่ใช้โปรแกรมว่า นักเรียนควรรู้อะไร
วัตถุประสงค์นี้ควรบอกให้ผู้เรียนทราบก่อนจะให้ผู้เรียนได้เตรียมตัวและทราบจุดหมายปลายทางในการใช้โปรแกรม

ตัวอย่างการกำหนดวัตถุประสงค์
โปรแกรมนี้เหมาะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายซึ่งมีความรู้ในเรื่องต่อไปนี้
1. มวลและความเร็ว
2. อนุภาคของสสาร
3. สนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า
โปรแกรมออกแบบสำหรับใช้สอนเสริมให้นักเรียนที่ยังไม่เข้าใจบทเรียนจากการเรียนในห้องเรียน หรือครูผู้สอนอาจจะใช้เป็นสื่อการสอนสาธิตเรื่องนี้ หลังจากนักเรียนได้เรียนจากโปรแกรมแล้วควร จะรู้สิ่งต่อไปนี้
1. สามารถบอกทิศทาง และความเร็วของลำอิเล็กตรอน เมื่อผ่านสนามแม่เหล็กไฟฟ้าลักษณะต่าง
2. สามารถอธิบายผลกระทบต่อการเคลื่อนที่ของลำอิเล็กตรอนที่เกิดจากสนามแม่เหล็กและสนาม ไฟฟ้า

3. ลำดับขั้นตอนการทำงาน
เป็นการกำหนดรูปแบบการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยเขียนเป็นต้นแบบที่เรียกว่า "Story Board" ซึ่งจะใช้ในการสร้างต้นแบบ ควรบอกลักษณะและลำดับการทำงานของโปรแกรม เพื่อผู้ที่จะนำโปรแกรมไปใช้จะได้เตรียมอุปกรณ์และสภาพการทำงานในการใช้โปรแกรม
ตัวอย่างลำดับขั้นตอนการทำงาน
โปรแกรมนี้สามารถใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูล IBM/PC และควรใช้จอภาพสีเพื่อแสดงรายละเอียด ภาพได้ชัดเจน ส่วนวิธีการ ควบคุมการทำงานของโปรแกรมอธิบายไว้ในโปรแกรม ลำดับการทำงานของโปรแรม มีดังต่อไปนี้
1. แสดงชื่อโปรแกรม "การทดลองของทอมสัน" และมีภาพหลอดรังสีแคโทดประกอบ
2. อธิบายจุดประสงค์วิธีการใช้และควมคุมการทำงานของโปรแกรม
3. ระบุเนื้อหา ที่ผู้เรียนควรจะรู้ก่อนจะใช้โปรแกรมนี้ เช่น
- มวล ความเร็ว อนุภาคของสสาร อะตอม อิเล็กตรอน
- สนามไฟฟ้าและแรงไฟฟ้า
- สนามแม่เหล็กและแรงแม่เหล็ก
4. ทดสอบความรู้พื้นฐานของผู้เรียน ตามที่ระบุไว่ในข้อ 3 อาจทำให้ผู้เรียนทำข้อสอบชนิด 4 ตัวเลือกจำนวน 10 ข้อ ผู้เรียนจะต้องตอบถูกอย่างน้อย 8 ข้อ จึงสามารถเรียนต่อได้ มิฉะนั้นโปรแกรมจะหยุดทำงาน และแนะนำให้ผู้เรียนไป ศึกษาเนื้อหาในข้อ 3 ใหม่
5. เข้าสู่บทเรียน โดยจะมีรายการคสบคุม (Menu) ให้ผู้เรียนเลือกหัวข้อที่ต้องการ ดังนี้
- ความรู้เกี่ยวกับอิเล็กตรอน
- ความรู้เกี่ยวกับการทดลองของทอมสัน
- ลำอิเล็กตรอนในสนามแม่เหล็ก
- ลำอิเล็กตรอนในสนามไฟฟ้า
6. ประเมินผลการเรียน หลังจากผู้เรียนศึกษาบทเรียนจนเป็นที่พอใจแล้ว จะมีแบบทดสอบชนิด 4 ตัวเลือกจำนวน 20 ข้อ ให้ผู้เรียนทำโดย ผู้เรียนจะต้องทำถูกอย่างน้อย 14 ข้อ (70%) จึงถือว่าผ่านบทเรียนนี้
สำหรับคู่มือประกอบการใช้ ควรจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- อุปกรณืคอมพิวเตอร์ที่ต้องการใช้
- มีเอกสารปรระกอบการใช้โปรแกรมหรือไม่
- วิธีการควบคุมการทำงานของโปรแกรม เช่นหยุดการทำงานของโปรแกรม เช่นหยุดการทำงาน ข้ามและย้อนกลับบทเรียนขออธิบายเป็นต้น
- สามารถกลับไปทบทวนบทเรียนก่อนๆ ได้หรือไม่
- มีการบันทึก และรายงานผลการเรียนหรือไม่

4. สร้างโปรแกรม
เป็นการแปลต้นแบบที่กระดาษให้เป็นชุดคำสั่งที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ โดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง การเขียนโปรแกรมจะต้องมีการตรวจแก้ไขข้อผิดพลาดเนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้
-รูปแบบคำสั่งผิดพลาด เป็นการใช้คำสั่งไม่ถูกต้องตามข้อกำหนด
-แนวความคิดผิดพลาด เป็นข้อผิดพลาดอันเนื่องจากผู้เขียนขั้นตอนการทำงานคลาดเคลื่อน เช่น กำหนด สูตรคำนวณผิดพลาด เป็นต้น
หลังจากตรวจและแก้ไข ข้อผิดพลาดต่างๆ เป็นที่เรียบร้อย และโปรแกรมสามารถทำงานตามต้นแบบที่กำหนด ก็เป็นอันสิ้นสุดขั้นตอนการสร้างโปรแกรม

5. ทดสอบการทำงาน
เป็นการนำโปรแกรมที่สร้างไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างผู้เรียนในสภาพใช้งานจริง เพื่อทดสอบการทำงานของโปรแกรม และหาข้อบกพร่องที่ผู้ออกแบบคาดไม่ถึง เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นกลับมาปรับปรุงแก้ไขต่อไป

6. ปรับปรุงแก้ไข
หลังจากทราบข้อบกพร่อง จากการนำโปรแกรมไปทดสอบการทำงาน ก็จะทำการปรับปรุงแก้ไขโปรแกรม การปรับปรุงจะต้องปรับปรุงที่ตัวต้นแบบก่อน แล้วตามด้วยตัวโปรแกรม หลังจากแก้ไขเรียบร้อย จะต้องนำกลับไปทดสอบการทำงานใหม่ และถ้ายังมีข้อบกพร่องก็จะต้องปรับปรุงแก้ไขอีก ฉะนั้นขั้นตอนการทดสอบการทำงานและปรับปรุงจะกระทำวนเวียนกันซ้ำๆ จนได้โปรแกรมที่ไม่มีข้อบกพร่องหรือมีข้อบกพร่องน้อยที่สุด และเป็นที่พอใจของผู้ออกอแบบ คือนักการศึกษาจึงจะนำไปใช้งาน

7. ประยุกต์ใช้ในห้องเรียน
การนำโปรแกรมไปใช้ในการเรียนการสอนจะต้องทำตามข้อกำหนดสำหรับการใช้โปรแกรมเช่นโปรแกรมสำหรับการออกแบบ สำหรับส่งเสริมการเรียนรู้ควรจะมีชั่วโมงกิจกรรมสำหรับการใช้โปรแกรม โปรแกรมที่ออกแบบสำหรับสาธิตการทดลอง ควรจะให้นักเรียนได้ใช้โปรแกรมก่อนจะเข้าห้องทดลองจริง เป็นต้น

8. ประเมินผล
การประเมินผลเป็นขั้นตอนสุดท้ายสำหรับการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จะเป็นการสรุปว่า โปรแกรมที่สร้างเป็นอย่างไร สมควรจะนำไปใช้ในการเรียนการสอนหรือไม่ การประเมินผลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 ประเมินว่า หลังจากนักเรียนใช้โปรแกรมนี้แล้วบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ วิธีการประเมินผลส่วนนี้กระทำโดยผู้เรียนทำแบบทดสอบ ก่อนและหลังการใช้โปรแกรม เพื่อวัดความก้าวหน้าของผู้เรียน ถ้าผลการทดสอบออกมาติดลบแสดงว่าหลังจากการ ใช้โปรแกรมผู้เรียนไม่ไดเ้พัฒนาขึ้นเลย จำเป็นต้องมีการปรับปรุงต้นแบบหรือวัตถุประสงค์ใหม่ เพราะ วัตถุประสงค์ใหม่เพราะโปรแกรมที่สร้างไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งไว้
ส่วนที่ 2 ประเมินในส่วนของโปรแกรมและการทำงานว่า การใช้โปรแกรมกับเนื้อหารวิชานี้เหมาะสมหรือไม่ เจตคติของผู้เรียนต่อการใช้โปรแกรมเป็นอย่างไร วิธีการใช้โปรแกรมง่ายยากอย่างไร วิธีการสอนบทเรียน ความถูกต้องของเนื้อหา เอกสารประกอบ การติดต่อกับผู้เรียน เป็นอย่างไรการประเมินผลเป็นอย่างไรการประเมินผลส่วนนี้จะใช้แบบสอบถาม
จากขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้รนี้ จะเห็นว่าการออกแบบซึ่งได้แก่ระบุเหตุผล กำหนดวัตถุประสงค์และลำดับขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นตัวกำหนดความสำเร็จของงานแต่ผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนส่วนใหญ่ละเลย ขั้นตอนเหล่านี้หรือให้ความสนใจในส่วนนี้น้อยมาก กลับไปสนใจโปรแกรมทำให้วงขยายกว้างขึ้นเกินไป และมักจะล้มเหลวในที่สุดเพราะไม่มีแผนหรือต้นแบบควบคุมการทำงาน
แนวทางการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นการเสนอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้ตระหนังถึงแนวทางที่ถูกต้องในการพัฒนาและประยุกต์ใช้สื่อการสอน ได้ตระหนักถึงแนวทางที่ถูกต้องในการพัฒนาประยุกต์ใช้ สื่อการสอนคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในวงการการศึกษาและเป็นการส่งเสริมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เริ่มงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยลำดับขั้นตอนการทำงานที่ถูกต้อง เพื่อให้ได้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง เพื่อให้ได้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ตรงตามวัตถุประสงค์ และมีประสิทธิภาพ

วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

Flash สร้าง CAI ได้หรือไม่

Flash สร้าง CAI ได้หรือไม่ งาน CAI ที่ผ่านสายตามมาไม่ต่ำกว่า 200 ชิ้นนั้น ส่วนมาก 50% เป็น authorware รองมา เป็นพวกตระกูล flash ต่าง เช่น captivate director flash flip flip album หาน้อยมาก ๆ ที่จะเป็น แฟลช ล้วน ๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ตัวแปลชเอง นั้นจะเก่งทางด้านสร้าง มูฟวี่ อยู่แล้ว หากมีความคิดสร้างสรรค์ สามารถนำแฟลชมาสร้าง CAI ได้ดี ๆ ล่ะก็ จัดได้ว่าเป็นสื่อคุณภาพอย่างไม่ต้องสงสัย อันที่จริง เคยเห็นบางท่านเอางานมาให้แก้ไข ทำด้วย Authorware คือใช้อ Authorware เป็นเมนหลัก ใช้แฟลช ทำเพียง Intro และเมนูหลัก เห็นแล้วสงสารอาจารย์ท่านที่มาให้แก้ เพราะว่าไม่สวยเลย และแพงมาก ๆ ทางทีมงานเลยฝากป่าวประกาศสำหรับท่านใดที่ อยากจะทำ CAI หรือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ลองดูดี ๆ นะคะ เนื่องจากดิฉันเคยน้อยใจลูกค้ารายนี้มาก ๆ คือ ตกลงราคากันที่ ถูกมาก ๆ เลย 15,000 บาท ตั้ง 10 บท เนื้อหาเยอะมาก ๆ แล้วมาต่อรอง ถ้าเนื้อหาน้อย ๆ จะไม่คิดอะไรมากเลยค่ะ ยินดีลดให้โดยไม่ต้องต่อ ที่นี้พอทางเราลดราคาให้ไม่ได้ ก็ไปทำกับเจ้าอื่น โดนไป 60,000 บาทค่ะ อุตส่าห์นั่งรถไปทำแถว ๆ ราชบุรี สุดท้ายงานที่ได้ กลับห่วย มาก ๆ แล้วโดนด่ากลับมาอีก ตัวคนรับจ้างก็ไม่ได้ทำเอง เอางานให้เด็กนักศึกษาทำ เอาซะคุ้มค่า บริการก็ไม่ดี ไม่คุ้มราคาเลย
CAI เนี่ย ถ้าคิดราคาตามเนื้องานแล้ว เห็นว่า สุด ๆ แล้วคงไม่น่ามีใครทำเกิน 10 บท รวมแบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน และแบบฝึกหัดแต่ละบท ไม่น่าเกิน 25,000 บาท หรือถ้ามีใครรับทำราคาสูงกว่านี้ แนะนำว่า ให้เค้ารับประกันผลงานให้ด้วย ถ้าทำ อ.3 รับประกันผ่านด้วย สูงกว่านี้ก็จ่ายไหว ใช่มั๊ยคะ แต่ถ้าราคาสูงมาก แล้วผลงานไม่ผ่าน ก็ให้คืนเงินมา แนะนำสำหรับ ผู้ที่เจอค่าจ้างแพง ๆ นะคะ ส่วนเราเอง รับประกันความพอใจอย่างเดียวค่ะ ทราบดีว่า ทฤษฎีการสร้างสื่อการสอนนั้นเป็นอย่างไร ทำอย่างไรผลงานจึงจะมีประสิทธิภาพ แต่บอกไม่ได้ว่า ผลงานจะผ่านหรือไม่ เพราะว่าไม่ใช่คนตรวจ แต่คนตรวจผลงานจะเป็นใครที่ไหนซะอีกล่ะคะ ก็เป็นอาจารย์ ด้านนี้แหละค่ะ ที่สั่งสอนทฤษฎีให้พวกเรามา คงใช้ทฤษฎีตัวเดียวกันในการตัดสินผลงาน ก็คงไม่หนีไปไหนหรอกค่ะสำหรับชิ้นงาน เพราะฉะนั้น ทำกับเรา เครื่องมือผ่านแน่นอน ทำจะกว่าคุณจะพอใจ แต่ชิ้นงานเป็นแค่ส่วนหนึ่งของการตัดสินเท่านั้นถูกต้องมั๊ยคะ เครื่องมือจะดีเลิศแค่ไหน แต่ถ้าผลงานวิจัย หรือ รายงานที่ส่งคู่กันไป ไม่ดี ก็คงไม่อาจช่วยได้ จริงมั๊ยคะ
สำหรับบทความนี้ ขอส่งท้ายด้วย ฝากให้ทุกท่านทราบข่าวดีว่า ทางเราเองสนับสนุนการสร้างสื่อเต็มที่เลยค่ะ ในราคาที่สมเหตุสมผล ไม่คิดเคยคิดที่จะทำให้รวย แม้จะมีเพื่อนบางคนบอกว่า มันเป็นงานใช้สมอง หาคนทำยาก ควรจะต้องแพง ไม่จริงเลยค่ะ ท่านสามารถหาดูจากบทความรับทำสื่อเก่า ๆ ได้ ในบล็อกแห่งนี้ ว่าราคาถูกกว่าชาวบ้านชาวช่องที่เค้ารับทำ ครึ่งต่อครึ่ง แล้วงานที่ทำทุกชิ้นเป็นความลับค่ะ ไม่เอาไปขายต่อ สร้างใหม่ทุกชิ้น ไม่อัพขึ้นเว็บ สนใจอยากดูผลงานติดต่อ แอนได้เลยนะคะ

วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

Cai สื่อ offline กับ ebook.

มีคำถามเกิดขึ้นมานะคะว่า cai หรือคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเนี่ย มันเหมือนหรือแตกต่างจาก ebook ที่เค้ากำลัง ฮิต ๆ ฮอต ๆ กันอยู่เนี่ย อย่างไร
คำตอบ คงจะตอบอยู่สองคำถามนะคะ

เหมือนกันก็คือ:มันคือสื่อเหมือนกันค่ะ ยกตัวอย่าง Amazon kindle อันโด่งดังนะคะ มันคือเครื่องสำหรับอ่าน ebook นั่นเองค่ะ รายละเอียดลองเข้าไปดูเองนะคะ คิดว่าไม่เกี่ยวกับคำตอบเท่าไหร่ แต่ ebook จุดประสงค์ที่แท้จริง มันก็คือหนังสือ ไฟฟ้า หรือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นั่นเอง เหมือนกับ cai อย่างไร คงไม่ยากนะคะสำหรับคำตอบ

แตกต่างกันคือ:ebook เน้นไปที่เนื้อหา จริง ๆ แล้วก็เคยเห็น ebook ที่เค้าเรียกกัน เป็นไฟล์ pdf ไม่แตกต่างกับการสแกนหน้าหนังสือมาไว้ในเครื่องแล้วเปิดอ่านเอาเลย อย่างงั้นบางคนเค้าก็เรียก ebook เหมือนกัน แตกต่างโดยสิ้นเชิงกับ cai มันคือเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วล่ะค่ะ ว่าคอม ฯ ช่วย เพราะฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างเบ็ดเสร็จสำเร็จในตัวของมันเอง ตั้งแต่เริ่มเรียนจนสามารถทำข้อสอบได้

เอาล่ะค่ะ วันนี้ ทางทีมงานของเรา ฝากประชาสัมพันธ์ แต่เนิ่น ๆ ว่า ใกล้จะถึง ฤดูกาลสร้าง รับทำ cai กันแล้วนะคะ เตรียมตัวเสียแต่วันนี้ จะได้มีเวลาแก้ไข นำไปทดลอง ทดสอบ จะแน่ใจ ว่าเครื่องมือเรา เจ๋ง แค่ไหน จะได้ผ่าน ๆ กันไปนะคะ มีอะไรให้ช่วยเหลือ ติดต่อตามเบอร์แอน เลยนะคะ ถ้าหาไม่เจอ เหลือบมองด้านบนเลยค่ะ