ดูผลงานคลิ๊กที่ลิงค์ค่ะ

สอบถามรายละเอียด โทร 083-5666259 caidirect@hotmail.com

วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ประวัติคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI

http://learners.in.th/blog/wannee2007/79185
อ้างอิงค่ะ
ประวัติคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI

แนวคิดในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ทางการศึกษาเริ่มขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ช่วงปลาย ค.ศ. 1950 ถึงต้นปี ค.ศ. 1960 นำ มาใช้ในด้านการเรียนการสอน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนที่เรียนไม่ทันคนอื่นในชั้นเรียนได้เรียน ซ่อมเสริมนอกเวลาเรียน แต่บทเรียนแบบโปรแกรมยังใช้หนังสือเป็นตัวนำเสนอ ซึ่งทำให้เกิดความน่าเบื่อหน่ายช่วงต้นปี ค.ศ.1960 มหาวิทยา ลัยสแตมฟอร์ดและมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ได้นำเอกคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเข้ามามีบทบาทในการเรียนการสอน โดยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการฝึกฝนทักษะด้าน คณิตศาสตร์และการใช้ภาษาของเด็กในระดับประถมศึกษา ส่วนมหาวิทยาลัยอิลลินนอยส์ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนไม่จำกัดเฉพาะวิชา คณิตศาสตร์และภาษาไทยเท่านั้น แต่ใช้ครอบคลุมไปเกือบทุกวิชาและใช้ได้กับผู้เรียนในวัยเด็กและนิสิตนัก ศึกษาในระดับอุดมศึกษาด้วย แต่ก็มีข้อจำกัดที่ว่าฮาร์ดแวร์และซอฟ์ตแวร์ ที่ใช้มีลักษณะตายตัว คือ จะต้องเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมาสำหรับระบบนี้โดยเฉพาะและต้องเขียน โปรแกรมด้วยภาษาติวเตอร์(TUTOR) เท่านั้น
ค.ศ. 1971 มหาวิทยาลัยบริกคัมยังและเท็กซัส ได้คิดพัฒนานำโปรแกรม CAI มาใช้กับมินิคอมพิวเตอร์ โดยผสมคอมพิวเตอร์และโทรทัศน์เข้าด้วยกัน ผลิตออกมาเป็นรายวิชาทางคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ
โปรแแกรมนี้ชื่อว่า ทิกซิต (TiCCIT : Time Share Instructive Computer Controller Information Television) นับเป็นโปรแกรมที่ประสบความสำเร็จพอสมควร
แนวคิดในการหาเครื่องมือในโรงเรียนเริ่มจากนักจิตวิทยาชื่อ บี เอฟ สกินเนอร์ (B.F,Skinner) ซึ่ง พบว่า บุตรสาวของตนเรียนบางวิชาไม่รู้เรื่องเพราะครูสอนไม่เป็น สกินเนอร์จึงค้นหาวิธีการสอนใหม่โดยใช้วิธีการแบบใหม่เข้าช่วยเครื่องมือของ เขาเรียกว่า "เครื่องช่วยสอน" (Teaching Machine) บทเรียนที่ทำขึ้นเรียกว่า "Program Lesson" การ ใช้เครื่องช่วยสอนและการสอบแบบโปรแกรมนี้เองเป็นจุดสนใจที่นักคอมพิวเตอร์ ทั้งหลายนำไปคิดปรับปรุงใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่นานต่อมาการสอนแบบนี้ คือการพยายามที่จะสอนฦโดยไม่ให้ผู้สอนมีบทบาทโดยตรง บทเรียนและวิธีสอนมีลักษณะดังนี้

1.เริ่มต้นจากสิ่งที่รู้ไปยังสิ่งที่ไม่รู้ (From the Know to the unknow) จัดการสอนในเนื้อหาเรียงกันไปตามลำดับ(Linear exquence) เริ่มจากเรื่องที่ผู้เรียนรู้ ๆ อยู่แล้วไปจนถึงเรื่องใหม่ที่ยังไม่เคยรู้ โดยทำเป็นกรอบ (Frame) หลาย ๆ กรอบ ผู้เรียนค่อย ๆ เรียไปทีละกรอบตามลำดับของง่ายไปสู่ความยาก

2.เนื่อ หาที่ค่อยเพิ่มขึ้นนั้นจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นทีละน้อย ๆ ค่อนข้างง่าย ๆ และมีสาระใหม่ไม่มากนัก ความเปลี่ยนแปลงใหม่ในแต่ละกรอบจะต้องสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

3.แต่ละกรอบจะต้องมีการแนะนำนำความรู้ใหม่เพียงอย่างเดียว การแนะนำความรู้หรืออยู่ไม่ใหม่ ๆ ทีละมาก ๆ จะทำให้ผู้เรียนสับสนได้ง่าย

4.ใน ระหว่างการเรียนแต่ละคนมีส่วนร่วมใสการทำอะไรตามไปด้วย เช่น ตอบคำถาม ทำแบบฝึกหัด ฯลฯ ไม่ใช่ติดตามอย่างเดียวเพราะจะทำให้เกิดความเบื่อหน่าย

5.การ เลือกคำตอบที่ผิดอาจทำให้กลับไปทบทวนกรอบของบทเรียนเก่าหรือ ไม่ก็เป็นกรอบใหม่ที่จะอธิบายถึงการเข้าใจผิด หรือความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเป็นการเพิ่มเนื้อหาเข้าไปในตัวหรือถ้าเป็นคำตอบ ที่ถูกต้องผู้เรียนจะได้เรียนเรื่องใหม่เพิ่มเติม การได้รู้เฉลยและคำตอบหรือรู้ผลในทันทีทำให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานไปด้วย คำตอบที่มักได้ถูกรับคำชมที่ทำให้ผู้เรียนมีกำลังใจส่วนคำตอบที่ผิดบางทีอาจ ตำหนิซึ่งก็ไม่มีใคร ได้ยิดทำให้ไม่รู้สึกอายหรือหมดกำลังใจ

6.การ เรียนวิธีนั้จะทำให้ผู้เรียนได้ตามความเร็วของตน จะใช้เวลาทบทวนบทเรียนหรือคิดตอบคำถามแต่ละข้อนานเท่ใดก็ได้ ผู้เรียนจะรู้สึกถูกกดดันด้วยการกำหนดเวลาที่ต้องรอเพื่อนหรือตามเพื่อนให้ ทัน

7.การเรียนในลักษณะนี้เป็นการเรียนด้วยตนเองที่เน้นความถนัดของแต่ละบุคคล(Individaulized) แต่ ละคนมีความถนัดต่างกันแม้ในวิชาเดียวกัน การเรียนบทเรียนแต่ละบทก็ใช้เวลาไม่เท่ากัน บางคนเรียนคณิตศาสตร์เรื่องการบวกใช้เวลาน้อยแต่เรื่องการคูณต้องใช้เวลามาก

8.ใน การสอนบทเรียนในลักษณะนี้ การทำท้ายสรุปบทเรียนแต่ละบทจะช่วยให้ผู้เรียนได้วัดผลได้ด้วยตนเอง การสรุปนั้นหมายถึงการสรุปด้วยเนื้อหา และการสรุปติดตามผลของการเรียนด้วยว่าผู้เรียนใช้เวลามากหรือน้อย หรือใช้งานอะไรเพิ่มเติมอีกหรือไม่ในการเรียนในห้องเรียนยิ่งครูทดสอบบ่อย เท่าไรการเรียนก็ยิ่งผลเท่านั้น แต่การทดสอบธรรมดามีปัญหาในเรื่องการตรวจช้า

9.การ ทำกรอบบทเรียนแต่ละบทนั้นถ้าเราทำได้ดี เราจะสามารถวิเคราะห์คำตอบไปได้ด้วยประสบการณ์ของนักเรียนแต่ละคน ทำให้คำตอบแตกต่างกันเราสามารถที่จะวิเคราะห์ได้จากคำตอบของนักเรียนได้ว่า การที่เลือกคำตอบนั้น ๆ ถ้าเป็นคำตอบแตกต่างกันเราสามารถที่จะวิเคราะห์ได้จากคำตอบของนักเรียนได้ ว่า การที่เลือกคำตอบนั้น ๆ ถ้าเป็นคำตอบที่ผิดเป็นเพราะอะไร อาจเป็นเพราะสับสนกับเรื่องอื่นตีความคำถามผิดไปหรือไม่เข้าใจเลย การทำแบบทดสอบที่ดีผู้เรียนสามารถเรียบเรียงเนื้อหาเป็นขั้นตอนจริง ๆ ผู้เรียนควรจะทำได้ทั้งหมด แต่การทำถูกไปหมดบางครั้งก็ทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายได้
10.การ กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ปลายทางว่าต้องการให้ผู้ใช้รู้อะไรบ้าง จะช่วยในการแบ่งเนื้อหาซึ่งจะต้องเรียนไปตามลำดับ ทำให้ดีขึ้น ไม่หันออกไปเรื่องอื่น โดยไม่จำเป็น
ต่อมาได้มีการพัฒนาปรับปรุงและออกแบบ CAI ให้ มีประสิทธิภาพและมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น โดยนำสื่อหลาย ๆ รูปแบบหรือที่เรียกว่า "มัลติมีเดีย" เข้ามาช่วยให้เกิดความน่าสนใจ เช่น รูปภาพ แสง สี เสียง จนในขณะนี้สามารถกล่าวได้ว่า มัลติมีเดียได้กลายเป็นองค์ประกอบหลักของคอมพิวเตอร์ไปแล้ว

เมื่อพิจารณาถึงความเป็นมาของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนน่าจะมีความสัมพันธ์กับลการเรียนการสอนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction) ซึ่งในระยะเวลากว่า 20 ปี ที่ผ่านมา การเรียนการสอนแบบโปรแกรมวิธีนี้มีหลักการพื้นฐานของการใช้ทฤษฎีและหลัก จิตวิทยาการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individaul Differences) มีการใช้แรงเสริม (Reinforcement) และการให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้เรียน (Feedback) การเรียนการสอนลักษณะนี้นอกจากจะใช้สื่อการเรียนการสอนในรูปเอกสารแล้ว ได้มีผู้พยายามสร้างเครื่องสอน (Teaching Machine) เพื่อ นำเสนอบทเรียนโปรแกรมอีกด้วย และเมื่อคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการศึกษา บทเรียนแบบโปรแกรมจึงมีการพัฒนามาอยู่บนคอมพิวเตอร์ และทำให้เกิดการเรียนการสอนที่เรียกว่า "คอมพิวเตอร์ช่วยสอน"
สำหรับประเทศไทยแนวความคิดในการนำเอาคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเข้าไปใช้ในโรงเรียน ได้เริ่มมาตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2525 - 2530 แต่ การพัฒนาการของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในไทยเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่องเพราะมีปัญหา ทางด้านบุคลากร งบประมาณ และการออกแบบเพื่อสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แต่ปัจจุบันก็มีหลายโรงเรียนที่นำ CAI เข้ามามีบทบาทในการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น

ความหมาย ของ CAI คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI : Computer Assisted Instruction หมาย ถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์เพื่อทำการถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือ ความรู้ในลักษณะที่ใกล้เคียงกับผู้เรียนในห้องเรียนมากที่สุด โดยนำเสนอสื่อประสม (Multimedia) ได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว กราฟิก แผนภูมิ วีดีทัศน์และเสียง โดยจะนำเสนอเนื้อหาทีละจอภาพ ซึ่งเนื้อหาในคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะได้รับการถ่ายทอดในลักษณะที่ต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับธรรมชาติและโครงสร้างของเนื้อหา