ดูผลงานคลิ๊กที่ลิงค์ค่ะ

สอบถามรายละเอียด โทร 083-5666259 caidirect@hotmail.com

วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551

อยากจะเปิด tutorial Authorware

Authorware Tutorial เป็นโครงการที่น่าจะมีขึ้นใน Blog แห่งนี้ค่ะ ยอมรับว่าไม่ค่อยมีเวลาเท่าไหร่ แต่ก็จะพยายาม เข้ามาอัพไว้เรื่อย ๆ นะคะ เพราะช่วงนี้ กำลังเริ่มทำ E-learning อยู่น่ะค่ะใช้ Flash เป็นหลักเลย ส่วน Authorware ก็เอาไว้ทำพวก CAI ค่ะ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้ได้อะไรหลาย ๆ อย่าง แล้วก็กลัวลืมด้วย ก็เลยคิดว่าจดเอาไว้ที่นี่ดีกว่า เผื่อมีใครสนใจเอาเทคนิคไปใช้จะได้เป็นการแชร์กัน อ้อ! เกือบลืม ต้องขอแสดงความยินดีกับลูกค้าทุกท่านด้วยนะคะ มีบางท่านโทรมาบอกว่า ผ่าน อ.3 แล้ว แหมน่าอิจฉาจังเลยนะคะ ก็ขอให้ทำหน้าที่ให้เต็มที่เลยนะคะ ผ่านแบบนี้มีกำลังใจทำงานขึ้นอีกเยอะเลยใช่มั๊ยล่ะคะ
ส่วนโครงการ Authorware Tutorial นั้นก็กำลังจะมีขึ้นในอีกไม่ช้าแล้วล่ะคะ อาจจะไม่ได้วางแผนมาก่อนก็คงจะเป็นแบบว่า ถามมาตอบไป หรือ คิดอะไรได้ก็ทำ ประมาณนี้อ่ะคะ ใครมีปัญหาเร่งด่วนโทรสอบถามได้นะคะ เบอร์อยูด้านบนเลยค่ะ หวังว่าBlog แห่งนี้คงเป็นเพื่อนของท่าน ให้ความรู้ไม่น้อยก็มากนะคะ

วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ประวัติคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI

http://learners.in.th/blog/wannee2007/79185
อ้างอิงค่ะ
ประวัติคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI

แนวคิดในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ทางการศึกษาเริ่มขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ช่วงปลาย ค.ศ. 1950 ถึงต้นปี ค.ศ. 1960 นำ มาใช้ในด้านการเรียนการสอน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนที่เรียนไม่ทันคนอื่นในชั้นเรียนได้เรียน ซ่อมเสริมนอกเวลาเรียน แต่บทเรียนแบบโปรแกรมยังใช้หนังสือเป็นตัวนำเสนอ ซึ่งทำให้เกิดความน่าเบื่อหน่ายช่วงต้นปี ค.ศ.1960 มหาวิทยา ลัยสแตมฟอร์ดและมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ได้นำเอกคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเข้ามามีบทบาทในการเรียนการสอน โดยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการฝึกฝนทักษะด้าน คณิตศาสตร์และการใช้ภาษาของเด็กในระดับประถมศึกษา ส่วนมหาวิทยาลัยอิลลินนอยส์ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนไม่จำกัดเฉพาะวิชา คณิตศาสตร์และภาษาไทยเท่านั้น แต่ใช้ครอบคลุมไปเกือบทุกวิชาและใช้ได้กับผู้เรียนในวัยเด็กและนิสิตนัก ศึกษาในระดับอุดมศึกษาด้วย แต่ก็มีข้อจำกัดที่ว่าฮาร์ดแวร์และซอฟ์ตแวร์ ที่ใช้มีลักษณะตายตัว คือ จะต้องเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมาสำหรับระบบนี้โดยเฉพาะและต้องเขียน โปรแกรมด้วยภาษาติวเตอร์(TUTOR) เท่านั้น
ค.ศ. 1971 มหาวิทยาลัยบริกคัมยังและเท็กซัส ได้คิดพัฒนานำโปรแกรม CAI มาใช้กับมินิคอมพิวเตอร์ โดยผสมคอมพิวเตอร์และโทรทัศน์เข้าด้วยกัน ผลิตออกมาเป็นรายวิชาทางคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ
โปรแแกรมนี้ชื่อว่า ทิกซิต (TiCCIT : Time Share Instructive Computer Controller Information Television) นับเป็นโปรแกรมที่ประสบความสำเร็จพอสมควร
แนวคิดในการหาเครื่องมือในโรงเรียนเริ่มจากนักจิตวิทยาชื่อ บี เอฟ สกินเนอร์ (B.F,Skinner) ซึ่ง พบว่า บุตรสาวของตนเรียนบางวิชาไม่รู้เรื่องเพราะครูสอนไม่เป็น สกินเนอร์จึงค้นหาวิธีการสอนใหม่โดยใช้วิธีการแบบใหม่เข้าช่วยเครื่องมือของ เขาเรียกว่า "เครื่องช่วยสอน" (Teaching Machine) บทเรียนที่ทำขึ้นเรียกว่า "Program Lesson" การ ใช้เครื่องช่วยสอนและการสอบแบบโปรแกรมนี้เองเป็นจุดสนใจที่นักคอมพิวเตอร์ ทั้งหลายนำไปคิดปรับปรุงใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่นานต่อมาการสอนแบบนี้ คือการพยายามที่จะสอนฦโดยไม่ให้ผู้สอนมีบทบาทโดยตรง บทเรียนและวิธีสอนมีลักษณะดังนี้

1.เริ่มต้นจากสิ่งที่รู้ไปยังสิ่งที่ไม่รู้ (From the Know to the unknow) จัดการสอนในเนื้อหาเรียงกันไปตามลำดับ(Linear exquence) เริ่มจากเรื่องที่ผู้เรียนรู้ ๆ อยู่แล้วไปจนถึงเรื่องใหม่ที่ยังไม่เคยรู้ โดยทำเป็นกรอบ (Frame) หลาย ๆ กรอบ ผู้เรียนค่อย ๆ เรียไปทีละกรอบตามลำดับของง่ายไปสู่ความยาก

2.เนื่อ หาที่ค่อยเพิ่มขึ้นนั้นจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นทีละน้อย ๆ ค่อนข้างง่าย ๆ และมีสาระใหม่ไม่มากนัก ความเปลี่ยนแปลงใหม่ในแต่ละกรอบจะต้องสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

3.แต่ละกรอบจะต้องมีการแนะนำนำความรู้ใหม่เพียงอย่างเดียว การแนะนำความรู้หรืออยู่ไม่ใหม่ ๆ ทีละมาก ๆ จะทำให้ผู้เรียนสับสนได้ง่าย

4.ใน ระหว่างการเรียนแต่ละคนมีส่วนร่วมใสการทำอะไรตามไปด้วย เช่น ตอบคำถาม ทำแบบฝึกหัด ฯลฯ ไม่ใช่ติดตามอย่างเดียวเพราะจะทำให้เกิดความเบื่อหน่าย

5.การ เลือกคำตอบที่ผิดอาจทำให้กลับไปทบทวนกรอบของบทเรียนเก่าหรือ ไม่ก็เป็นกรอบใหม่ที่จะอธิบายถึงการเข้าใจผิด หรือความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเป็นการเพิ่มเนื้อหาเข้าไปในตัวหรือถ้าเป็นคำตอบ ที่ถูกต้องผู้เรียนจะได้เรียนเรื่องใหม่เพิ่มเติม การได้รู้เฉลยและคำตอบหรือรู้ผลในทันทีทำให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานไปด้วย คำตอบที่มักได้ถูกรับคำชมที่ทำให้ผู้เรียนมีกำลังใจส่วนคำตอบที่ผิดบางทีอาจ ตำหนิซึ่งก็ไม่มีใคร ได้ยิดทำให้ไม่รู้สึกอายหรือหมดกำลังใจ

6.การ เรียนวิธีนั้จะทำให้ผู้เรียนได้ตามความเร็วของตน จะใช้เวลาทบทวนบทเรียนหรือคิดตอบคำถามแต่ละข้อนานเท่ใดก็ได้ ผู้เรียนจะรู้สึกถูกกดดันด้วยการกำหนดเวลาที่ต้องรอเพื่อนหรือตามเพื่อนให้ ทัน

7.การเรียนในลักษณะนี้เป็นการเรียนด้วยตนเองที่เน้นความถนัดของแต่ละบุคคล(Individaulized) แต่ ละคนมีความถนัดต่างกันแม้ในวิชาเดียวกัน การเรียนบทเรียนแต่ละบทก็ใช้เวลาไม่เท่ากัน บางคนเรียนคณิตศาสตร์เรื่องการบวกใช้เวลาน้อยแต่เรื่องการคูณต้องใช้เวลามาก

8.ใน การสอนบทเรียนในลักษณะนี้ การทำท้ายสรุปบทเรียนแต่ละบทจะช่วยให้ผู้เรียนได้วัดผลได้ด้วยตนเอง การสรุปนั้นหมายถึงการสรุปด้วยเนื้อหา และการสรุปติดตามผลของการเรียนด้วยว่าผู้เรียนใช้เวลามากหรือน้อย หรือใช้งานอะไรเพิ่มเติมอีกหรือไม่ในการเรียนในห้องเรียนยิ่งครูทดสอบบ่อย เท่าไรการเรียนก็ยิ่งผลเท่านั้น แต่การทดสอบธรรมดามีปัญหาในเรื่องการตรวจช้า

9.การ ทำกรอบบทเรียนแต่ละบทนั้นถ้าเราทำได้ดี เราจะสามารถวิเคราะห์คำตอบไปได้ด้วยประสบการณ์ของนักเรียนแต่ละคน ทำให้คำตอบแตกต่างกันเราสามารถที่จะวิเคราะห์ได้จากคำตอบของนักเรียนได้ว่า การที่เลือกคำตอบนั้น ๆ ถ้าเป็นคำตอบแตกต่างกันเราสามารถที่จะวิเคราะห์ได้จากคำตอบของนักเรียนได้ ว่า การที่เลือกคำตอบนั้น ๆ ถ้าเป็นคำตอบที่ผิดเป็นเพราะอะไร อาจเป็นเพราะสับสนกับเรื่องอื่นตีความคำถามผิดไปหรือไม่เข้าใจเลย การทำแบบทดสอบที่ดีผู้เรียนสามารถเรียบเรียงเนื้อหาเป็นขั้นตอนจริง ๆ ผู้เรียนควรจะทำได้ทั้งหมด แต่การทำถูกไปหมดบางครั้งก็ทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายได้
10.การ กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ปลายทางว่าต้องการให้ผู้ใช้รู้อะไรบ้าง จะช่วยในการแบ่งเนื้อหาซึ่งจะต้องเรียนไปตามลำดับ ทำให้ดีขึ้น ไม่หันออกไปเรื่องอื่น โดยไม่จำเป็น
ต่อมาได้มีการพัฒนาปรับปรุงและออกแบบ CAI ให้ มีประสิทธิภาพและมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น โดยนำสื่อหลาย ๆ รูปแบบหรือที่เรียกว่า "มัลติมีเดีย" เข้ามาช่วยให้เกิดความน่าสนใจ เช่น รูปภาพ แสง สี เสียง จนในขณะนี้สามารถกล่าวได้ว่า มัลติมีเดียได้กลายเป็นองค์ประกอบหลักของคอมพิวเตอร์ไปแล้ว

เมื่อพิจารณาถึงความเป็นมาของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนน่าจะมีความสัมพันธ์กับลการเรียนการสอนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction) ซึ่งในระยะเวลากว่า 20 ปี ที่ผ่านมา การเรียนการสอนแบบโปรแกรมวิธีนี้มีหลักการพื้นฐานของการใช้ทฤษฎีและหลัก จิตวิทยาการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individaul Differences) มีการใช้แรงเสริม (Reinforcement) และการให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้เรียน (Feedback) การเรียนการสอนลักษณะนี้นอกจากจะใช้สื่อการเรียนการสอนในรูปเอกสารแล้ว ได้มีผู้พยายามสร้างเครื่องสอน (Teaching Machine) เพื่อ นำเสนอบทเรียนโปรแกรมอีกด้วย และเมื่อคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการศึกษา บทเรียนแบบโปรแกรมจึงมีการพัฒนามาอยู่บนคอมพิวเตอร์ และทำให้เกิดการเรียนการสอนที่เรียกว่า "คอมพิวเตอร์ช่วยสอน"
สำหรับประเทศไทยแนวความคิดในการนำเอาคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเข้าไปใช้ในโรงเรียน ได้เริ่มมาตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2525 - 2530 แต่ การพัฒนาการของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในไทยเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่องเพราะมีปัญหา ทางด้านบุคลากร งบประมาณ และการออกแบบเพื่อสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แต่ปัจจุบันก็มีหลายโรงเรียนที่นำ CAI เข้ามามีบทบาทในการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น

ความหมาย ของ CAI คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI : Computer Assisted Instruction หมาย ถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์เพื่อทำการถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือ ความรู้ในลักษณะที่ใกล้เคียงกับผู้เรียนในห้องเรียนมากที่สุด โดยนำเสนอสื่อประสม (Multimedia) ได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว กราฟิก แผนภูมิ วีดีทัศน์และเสียง โดยจะนำเสนอเนื้อหาทีละจอภาพ ซึ่งเนื้อหาในคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะได้รับการถ่ายทอดในลักษณะที่ต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับธรรมชาติและโครงสร้างของเนื้อหา

วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

E-learning การเรียนการสอนในโลกอนาคต

หากจะกล่าวถึงการเรียนการสอนในอดีตที่ผ่านมา คงจะย้อนไปถึงยุคที่คุณครูพกไม้เรียวมาโรงเรียน ไม่รู้ว่าสมัยนี้เป็นยังไงบ้าง ไม่ได้เห็นภาพเหล่านั้นมานานมาก ๆ แล้ว เพราะยังไม่เคยเข้า รร.ประถมซะที เด็กจะดีต้องมีครูช่วยขัดเกลา อันนี้รับประกันได้ว่าจริงแท้แน่นอน
เกริ่นหัวข้อว่า "E-learning การเรียนการสอนในโลกอนาคต" แต่่เมื่อย้อนกลับสู่อดีต หากจะให้เรามานั่นเรียนผ่านอินเตอร์เน็ตกันตลอดเวลา สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเรียนการสอนจะหายไป นั่นก็คือ อารมณ์ เด็ก ๆ จะเรียนผ่านคอมพิวเตอร์ ทุก ๆ วิชา ทำอย่างไรก็จะไม่ได้สัมผัสถึงสิ่งนั้น ความรักของครูที่อยากจะให้นักเรียนของตนเป็นคนดี รู้จักผิดชอบชั่วดี เด็ก ๆ ก็จะไม่ได้รับรู้ถึง E-learning สอนเด็กได้เพียงแค่ทฤษฎี เด็กจะได้แต่จินตนาการ ถึงสิ่งที่คอมพิวเตอร์กำลังสอน กล่าวมาถึงตรงนี้ บอกได้คำเดียวว่า E-learning จะเป็นได้เพียงแค่สื่อสำหรับทบทวนนอกเวลาเรียนเท่านั้น คงไม่สามารถมาแทนครูไ้ด้ คงไม่สามารถมาแทนโรงเรียนได้ แต่สื่อ E-learning จะเป็นสื่อที่ดีที่สุดในอนาคต รองจากหนังสือ เอ๊ะ ทำไมถึงรองจากหนังสือล่ะ ตามความเห็นของดิฉันนะคะ หนังสือดีกว่า E-learning นิดเดียวตรงที่ มันไม่ต้องใช้เทคโนโลยีในการเปิด ไฟดับก็เปิดได้ อยู่บนรถก็เปิดอ่านได้ อ่านในห้องน้ำได้ เบื่อก็ซื้อเล่มใหม่ แต่ แต่ แต่ พอเขียนมาถึงตรงนี้ อยากจะแนะนำให้รู้จัก amazon kindle ค่ะ ใครเก่งภาษาอังกฤษ ก็ลองเข้าไปอ่านดูนะคะ มันเป็นเครื่องสำหรับอ่าน Ebook ยุคใหม่ แห่งค่าย Amazon.com เลยล่ะค่ะ เล็ก เบา พกพาง่าย อ่านผ่านwifi อัพเดต ข้อมูลข่าวสารง่าย ๆ เห็นแล้วก็ต้องบอกว่า อัจฉริยะจริง ๆ เมื่อก่อน ใช้โน๊ตบุ๊คอ่าน Ebook หรือ E-learning ได้ แต่ตอนนี้ ถ้าจะ อ่านเฉย ๆ ไม่ต้องเปิด โน๊ตบุ๊คแล้ว เปิด kindle แทน
คุณครูไม่ต้องห่วงหรอกนะคะ ไม่มีอะไรทดแทนคุณครูได้หรอกค่ะ เด็ก ๆ ก็คือคน คือมนุษย์ ต้องการการปลูกฝังที่ดี คงไม่มีใครปล่อยให้สื่อที่ควบคุมไม่ได้อย่าง อินเตอร์เน็ต เข้ามาสอนเด็ก จนกว่าเด็กจะพร้อม เด็กทุกคนไม่เหมือนกัน ต้องการการเอาใจใส่ การสอน แตกต่างกัน คอมพิวเตอร์มันไม่รู้หรอกคะ มีแต่ครูเท่านั้นที่มองออก ว่าใครควรจะได้อะไร แต่สื่อ E-learning จะเป็นทางเลือก สำหรับการเข้าใจที่ง่ายกว่าหนังสือ เป็นสื่อที่จะใช้ประกอบการเรียนการสอน เราคงปฏิเสธไม่ได้หรอกค่ะ เอาไปใช้ให้ถูกทาง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เด็กไทย พัฒนาไกลสู่สังคมโลก
บทสรุป ตอนจบนะคะ คงไม่มีอะไรจะฝากนอกจากข่าวสาร ว่า รับทำ E-learning นะคะ ด้วย โปรแกรม Flash แล้วก็รับทำสื่อ CAI ยังรับเหมือนเดิม ทำ Flash Presentation ด้วยค่ะ ลูกเล่นแพรวพราว ตื่นตาตื่นใจ แน่นอนค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI

บทความคัดลอกมาจาก http://www.school.net.th/library/snet1/software/cai/index.html
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer Assisted Instruction)
หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า CAI จะเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับผู้ที่อยู่ในวงการการศึกษาเพราะปัจจุบันมีผู้สนใจศึกษาและพัฒนา โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกันเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ระดับโรงเรียนจนถึงระดับมหาวิทยาลัยตลอดจนหน่วยงานต่างๆ บริษัทคอมพิวเตอร์ หลายแห่งได้มีการลงทุนพัฒนาในเรื่องนี้ นอกจากนี้ยังมีผลงานวิจัยอีกจำนวนมากที่ทำการศึกษาวิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในการประชุมวิชาการเรื่อง การนำเสนอคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์" ซึ่งสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดเป็นประจำทุกปี ได้พบว่ามีผู้สนใจเข้าร่วมประชุมและเสนอผลงานอย่างมากมาย จึงเป็นนิมิตหมายอันดีสำหรับวงการการศึกษาที่จะมีการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่อีกรูปแบบหนึ่ง คือคอมพิวเตอร์
นักการศึกษาพยายามที่จะนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน (Instructional Computing Material) การพัฒนาสื่อการสอนคอมพิวเตอร์นี้ส่วนใหญ่เน้นที่การจัดทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI Software) การทำงานโดยใช้โปรแกรมควบคุม ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเป็นสื่อการสอน ที่มีความยืดหยุ่นมากกว่าสื่อการสอนประเภทอื่นๆ การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีลักษณะใกล้เคียงกับการพัฒนาสื่อการสอนทั่วไป คือมีขั้นตอนในการพัฒนาเพื่อให้ผลงานที่ได้ตรงกับจุดประสงค์ที่ตั้งไว้และคุ้มค่าใช้จ่ายที่ลงทุน
ปัจจุบันในประเทศไทยถึงแม้ว่าจะมีการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจำนวนมากแต่เนื้อหายังซ้ำๆ และวนเวียนอยู่ในเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ ปัญหาสำคัญคือ คุณภาพของโปรแกรมไม่ดีเท่าที่ควร จึงไม่สามารถประยุกต์ใช้แบบต่อเนื่องในการเรียนการสอนสาเหตุใหญ่ที่ทำให้โปรแกรม ไม่มีคุณภาพ คือ ขาดการวางแผนขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญควรแก้ไขโดยเร่งด่วน
ดังนั้นบทความนี้จึงจะกล่าวถึงขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่จะเป็นแนวทางอันหนึ่ง ในการวางแผน และเตรียมการในการเขียนและปรับปรุงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ลำดับขั้นการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

แบ่งออกเป็น 8 ขั้นตอน ดังนี้
1. ระบุเหตุผล
หลังจากที่เลือกเนื้อหาวิชาที่จะทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแล้ว จะต้องสามารถตอบคำถามต่อไปนี้ให้ได้
- ทำไมเลือกเนื้อหานี้ มีปัญหาในการสอนหรือไม่และมีเนื้อหาที่เร่งด่วนกว่านี้หรือไม่
- ทำไมต้องใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ใช้สื่อประเภทอื่นที่ราคาถูกกว่าได้หรือไม่
ถ้าตอบคำถามทั้งสองคำถามไม่ได้หรือน้ำหนักของคำตอบไม่หนักแน่นพอ ควรยกเลิกการทำโปรแกรมดังกล่าว

ตัวอย่างการระบุเหตุผล
โปรแกรมสาธิตการทดลองของทอมสัน(Thomson's Experiment)
การสอนเรื่อง "ทางเดินของลำอิเล็กตรอนในสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า" เป็นเนื้อหาที่ค่อนข้างจะสอนยาก เนื่องจากนักเรียน ไม่สามารถมองเห็นภาพจริงแม้จะมีอุปกรณ์ทดลอง คือหลอดรังสีแคโทด แต่มีราคาแพงและอันตราย เนื่องจากใช้ไฟฟ้าแรงสูง โปรแกรมสาธิตการทดลองของทอมสันจะทำหน้าที่จำลองการทำงานของหลอดรังสีแคโทด โดยแสดงทางเดินและความเร็วของ ลำอิเล็กตรอนเมื่อเปลี่ยนขนาดและทิศทางของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก

2. กำหนดวัตถุประสงค์
เป็นการกำหนดคุณสมบัติและสิ่งที่คาดหวังจากผู้เรียนก่อนและหลังการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การกำหนดวัตถุประสงค์ ควรจะระบุสิ่งต่อไปนี้
- ความรู้พื้นฐานของผู้เรียน ก่อนที่จะใช้โปรแกรม
- สิ่งที่คาดหวังจากผู้เรียน หลังจากที่ใช้โปรแกรมว่า นักเรียนควรรู้อะไร
วัตถุประสงค์นี้ควรบอกให้ผู้เรียนทราบก่อนจะให้ผู้เรียนได้เตรียมตัวและทราบจุดหมายปลายทางในการใช้โปรแกรม

ตัวอย่างการกำหนดวัตถุประสงค์
โปรแกรมนี้เหมาะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายซึ่งมีความรู้ในเรื่องต่อไปนี้
1. มวลและความเร็ว
2. อนุภาคของสสาร
3. สนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า
โปรแกรมออกแบบสำหรับใช้สอนเสริมให้นักเรียนที่ยังไม่เข้าใจบทเรียนจากการเรียนในห้องเรียน หรือครูผู้สอนอาจจะใช้เป็นสื่อการสอนสาธิตเรื่องนี้ หลังจากนักเรียนได้เรียนจากโปรแกรมแล้วควร จะรู้สิ่งต่อไปนี้
1. สามารถบอกทิศทาง และความเร็วของลำอิเล็กตรอน เมื่อผ่านสนามแม่เหล็กไฟฟ้าลักษณะต่าง
2. สามารถอธิบายผลกระทบต่อการเคลื่อนที่ของลำอิเล็กตรอนที่เกิดจากสนามแม่เหล็กและสนาม ไฟฟ้า

3. ลำดับขั้นตอนการทำงาน
เป็นการกำหนดรูปแบบการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยเขียนเป็นต้นแบบที่เรียกว่า "Story Board" ซึ่งจะใช้ในการสร้างต้นแบบ ควรบอกลักษณะและลำดับการทำงานของโปรแกรม เพื่อผู้ที่จะนำโปรแกรมไปใช้จะได้เตรียมอุปกรณ์และสภาพการทำงานในการใช้โปรแกรม
ตัวอย่างลำดับขั้นตอนการทำงาน
โปรแกรมนี้สามารถใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูล IBM/PC และควรใช้จอภาพสีเพื่อแสดงรายละเอียด ภาพได้ชัดเจน ส่วนวิธีการ ควบคุมการทำงานของโปรแกรมอธิบายไว้ในโปรแกรม ลำดับการทำงานของโปรแรม มีดังต่อไปนี้
1. แสดงชื่อโปรแกรม "การทดลองของทอมสัน" และมีภาพหลอดรังสีแคโทดประกอบ
2. อธิบายจุดประสงค์วิธีการใช้และควมคุมการทำงานของโปรแกรม
3. ระบุเนื้อหา ที่ผู้เรียนควรจะรู้ก่อนจะใช้โปรแกรมนี้ เช่น
- มวล ความเร็ว อนุภาคของสสาร อะตอม อิเล็กตรอน
- สนามไฟฟ้าและแรงไฟฟ้า
- สนามแม่เหล็กและแรงแม่เหล็ก
4. ทดสอบความรู้พื้นฐานของผู้เรียน ตามที่ระบุไว่ในข้อ 3 อาจทำให้ผู้เรียนทำข้อสอบชนิด 4 ตัวเลือกจำนวน 10 ข้อ ผู้เรียนจะต้องตอบถูกอย่างน้อย 8 ข้อ จึงสามารถเรียนต่อได้ มิฉะนั้นโปรแกรมจะหยุดทำงาน และแนะนำให้ผู้เรียนไป ศึกษาเนื้อหาในข้อ 3 ใหม่
5. เข้าสู่บทเรียน โดยจะมีรายการคสบคุม (Menu) ให้ผู้เรียนเลือกหัวข้อที่ต้องการ ดังนี้
- ความรู้เกี่ยวกับอิเล็กตรอน
- ความรู้เกี่ยวกับการทดลองของทอมสัน
- ลำอิเล็กตรอนในสนามแม่เหล็ก
- ลำอิเล็กตรอนในสนามไฟฟ้า
6. ประเมินผลการเรียน หลังจากผู้เรียนศึกษาบทเรียนจนเป็นที่พอใจแล้ว จะมีแบบทดสอบชนิด 4 ตัวเลือกจำนวน 20 ข้อ ให้ผู้เรียนทำโดย ผู้เรียนจะต้องทำถูกอย่างน้อย 14 ข้อ (70%) จึงถือว่าผ่านบทเรียนนี้
สำหรับคู่มือประกอบการใช้ ควรจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- อุปกรณืคอมพิวเตอร์ที่ต้องการใช้
- มีเอกสารปรระกอบการใช้โปรแกรมหรือไม่
- วิธีการควบคุมการทำงานของโปรแกรม เช่นหยุดการทำงานของโปรแกรม เช่นหยุดการทำงาน ข้ามและย้อนกลับบทเรียนขออธิบายเป็นต้น
- สามารถกลับไปทบทวนบทเรียนก่อนๆ ได้หรือไม่
- มีการบันทึก และรายงานผลการเรียนหรือไม่

4. สร้างโปรแกรม
เป็นการแปลต้นแบบที่กระดาษให้เป็นชุดคำสั่งที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ โดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง การเขียนโปรแกรมจะต้องมีการตรวจแก้ไขข้อผิดพลาดเนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้
-รูปแบบคำสั่งผิดพลาด เป็นการใช้คำสั่งไม่ถูกต้องตามข้อกำหนด
-แนวความคิดผิดพลาด เป็นข้อผิดพลาดอันเนื่องจากผู้เขียนขั้นตอนการทำงานคลาดเคลื่อน เช่น กำหนด สูตรคำนวณผิดพลาด เป็นต้น
หลังจากตรวจและแก้ไข ข้อผิดพลาดต่างๆ เป็นที่เรียบร้อย และโปรแกรมสามารถทำงานตามต้นแบบที่กำหนด ก็เป็นอันสิ้นสุดขั้นตอนการสร้างโปรแกรม

5. ทดสอบการทำงาน
เป็นการนำโปรแกรมที่สร้างไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างผู้เรียนในสภาพใช้งานจริง เพื่อทดสอบการทำงานของโปรแกรม และหาข้อบกพร่องที่ผู้ออกแบบคาดไม่ถึง เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นกลับมาปรับปรุงแก้ไขต่อไป

6. ปรับปรุงแก้ไข
หลังจากทราบข้อบกพร่อง จากการนำโปรแกรมไปทดสอบการทำงาน ก็จะทำการปรับปรุงแก้ไขโปรแกรม การปรับปรุงจะต้องปรับปรุงที่ตัวต้นแบบก่อน แล้วตามด้วยตัวโปรแกรม หลังจากแก้ไขเรียบร้อย จะต้องนำกลับไปทดสอบการทำงานใหม่ และถ้ายังมีข้อบกพร่องก็จะต้องปรับปรุงแก้ไขอีก ฉะนั้นขั้นตอนการทดสอบการทำงานและปรับปรุงจะกระทำวนเวียนกันซ้ำๆ จนได้โปรแกรมที่ไม่มีข้อบกพร่องหรือมีข้อบกพร่องน้อยที่สุด และเป็นที่พอใจของผู้ออกอแบบ คือนักการศึกษาจึงจะนำไปใช้งาน

7. ประยุกต์ใช้ในห้องเรียน
การนำโปรแกรมไปใช้ในการเรียนการสอนจะต้องทำตามข้อกำหนดสำหรับการใช้โปรแกรมเช่นโปรแกรมสำหรับการออกแบบ สำหรับส่งเสริมการเรียนรู้ควรจะมีชั่วโมงกิจกรรมสำหรับการใช้โปรแกรม โปรแกรมที่ออกแบบสำหรับสาธิตการทดลอง ควรจะให้นักเรียนได้ใช้โปรแกรมก่อนจะเข้าห้องทดลองจริง เป็นต้น

8. ประเมินผล
การประเมินผลเป็นขั้นตอนสุดท้ายสำหรับการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จะเป็นการสรุปว่า โปรแกรมที่สร้างเป็นอย่างไร สมควรจะนำไปใช้ในการเรียนการสอนหรือไม่ การประเมินผลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 ประเมินว่า หลังจากนักเรียนใช้โปรแกรมนี้แล้วบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ วิธีการประเมินผลส่วนนี้กระทำโดยผู้เรียนทำแบบทดสอบ ก่อนและหลังการใช้โปรแกรม เพื่อวัดความก้าวหน้าของผู้เรียน ถ้าผลการทดสอบออกมาติดลบแสดงว่าหลังจากการ ใช้โปรแกรมผู้เรียนไม่ไดเ้พัฒนาขึ้นเลย จำเป็นต้องมีการปรับปรุงต้นแบบหรือวัตถุประสงค์ใหม่ เพราะ วัตถุประสงค์ใหม่เพราะโปรแกรมที่สร้างไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งไว้
ส่วนที่ 2 ประเมินในส่วนของโปรแกรมและการทำงานว่า การใช้โปรแกรมกับเนื้อหารวิชานี้เหมาะสมหรือไม่ เจตคติของผู้เรียนต่อการใช้โปรแกรมเป็นอย่างไร วิธีการใช้โปรแกรมง่ายยากอย่างไร วิธีการสอนบทเรียน ความถูกต้องของเนื้อหา เอกสารประกอบ การติดต่อกับผู้เรียน เป็นอย่างไรการประเมินผลเป็นอย่างไรการประเมินผลส่วนนี้จะใช้แบบสอบถาม
จากขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้รนี้ จะเห็นว่าการออกแบบซึ่งได้แก่ระบุเหตุผล กำหนดวัตถุประสงค์และลำดับขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นตัวกำหนดความสำเร็จของงานแต่ผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนส่วนใหญ่ละเลย ขั้นตอนเหล่านี้หรือให้ความสนใจในส่วนนี้น้อยมาก กลับไปสนใจโปรแกรมทำให้วงขยายกว้างขึ้นเกินไป และมักจะล้มเหลวในที่สุดเพราะไม่มีแผนหรือต้นแบบควบคุมการทำงาน
แนวทางการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นการเสนอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้ตระหนังถึงแนวทางที่ถูกต้องในการพัฒนาและประยุกต์ใช้สื่อการสอน ได้ตระหนักถึงแนวทางที่ถูกต้องในการพัฒนาประยุกต์ใช้ สื่อการสอนคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในวงการการศึกษาและเป็นการส่งเสริมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เริ่มงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยลำดับขั้นตอนการทำงานที่ถูกต้อง เพื่อให้ได้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง เพื่อให้ได้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ตรงตามวัตถุประสงค์ และมีประสิทธิภาพ

วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

Flash สร้าง CAI ได้หรือไม่

Flash สร้าง CAI ได้หรือไม่ งาน CAI ที่ผ่านสายตามมาไม่ต่ำกว่า 200 ชิ้นนั้น ส่วนมาก 50% เป็น authorware รองมา เป็นพวกตระกูล flash ต่าง เช่น captivate director flash flip flip album หาน้อยมาก ๆ ที่จะเป็น แฟลช ล้วน ๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ตัวแปลชเอง นั้นจะเก่งทางด้านสร้าง มูฟวี่ อยู่แล้ว หากมีความคิดสร้างสรรค์ สามารถนำแฟลชมาสร้าง CAI ได้ดี ๆ ล่ะก็ จัดได้ว่าเป็นสื่อคุณภาพอย่างไม่ต้องสงสัย อันที่จริง เคยเห็นบางท่านเอางานมาให้แก้ไข ทำด้วย Authorware คือใช้อ Authorware เป็นเมนหลัก ใช้แฟลช ทำเพียง Intro และเมนูหลัก เห็นแล้วสงสารอาจารย์ท่านที่มาให้แก้ เพราะว่าไม่สวยเลย และแพงมาก ๆ ทางทีมงานเลยฝากป่าวประกาศสำหรับท่านใดที่ อยากจะทำ CAI หรือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ลองดูดี ๆ นะคะ เนื่องจากดิฉันเคยน้อยใจลูกค้ารายนี้มาก ๆ คือ ตกลงราคากันที่ ถูกมาก ๆ เลย 15,000 บาท ตั้ง 10 บท เนื้อหาเยอะมาก ๆ แล้วมาต่อรอง ถ้าเนื้อหาน้อย ๆ จะไม่คิดอะไรมากเลยค่ะ ยินดีลดให้โดยไม่ต้องต่อ ที่นี้พอทางเราลดราคาให้ไม่ได้ ก็ไปทำกับเจ้าอื่น โดนไป 60,000 บาทค่ะ อุตส่าห์นั่งรถไปทำแถว ๆ ราชบุรี สุดท้ายงานที่ได้ กลับห่วย มาก ๆ แล้วโดนด่ากลับมาอีก ตัวคนรับจ้างก็ไม่ได้ทำเอง เอางานให้เด็กนักศึกษาทำ เอาซะคุ้มค่า บริการก็ไม่ดี ไม่คุ้มราคาเลย
CAI เนี่ย ถ้าคิดราคาตามเนื้องานแล้ว เห็นว่า สุด ๆ แล้วคงไม่น่ามีใครทำเกิน 10 บท รวมแบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน และแบบฝึกหัดแต่ละบท ไม่น่าเกิน 25,000 บาท หรือถ้ามีใครรับทำราคาสูงกว่านี้ แนะนำว่า ให้เค้ารับประกันผลงานให้ด้วย ถ้าทำ อ.3 รับประกันผ่านด้วย สูงกว่านี้ก็จ่ายไหว ใช่มั๊ยคะ แต่ถ้าราคาสูงมาก แล้วผลงานไม่ผ่าน ก็ให้คืนเงินมา แนะนำสำหรับ ผู้ที่เจอค่าจ้างแพง ๆ นะคะ ส่วนเราเอง รับประกันความพอใจอย่างเดียวค่ะ ทราบดีว่า ทฤษฎีการสร้างสื่อการสอนนั้นเป็นอย่างไร ทำอย่างไรผลงานจึงจะมีประสิทธิภาพ แต่บอกไม่ได้ว่า ผลงานจะผ่านหรือไม่ เพราะว่าไม่ใช่คนตรวจ แต่คนตรวจผลงานจะเป็นใครที่ไหนซะอีกล่ะคะ ก็เป็นอาจารย์ ด้านนี้แหละค่ะ ที่สั่งสอนทฤษฎีให้พวกเรามา คงใช้ทฤษฎีตัวเดียวกันในการตัดสินผลงาน ก็คงไม่หนีไปไหนหรอกค่ะสำหรับชิ้นงาน เพราะฉะนั้น ทำกับเรา เครื่องมือผ่านแน่นอน ทำจะกว่าคุณจะพอใจ แต่ชิ้นงานเป็นแค่ส่วนหนึ่งของการตัดสินเท่านั้นถูกต้องมั๊ยคะ เครื่องมือจะดีเลิศแค่ไหน แต่ถ้าผลงานวิจัย หรือ รายงานที่ส่งคู่กันไป ไม่ดี ก็คงไม่อาจช่วยได้ จริงมั๊ยคะ
สำหรับบทความนี้ ขอส่งท้ายด้วย ฝากให้ทุกท่านทราบข่าวดีว่า ทางเราเองสนับสนุนการสร้างสื่อเต็มที่เลยค่ะ ในราคาที่สมเหตุสมผล ไม่คิดเคยคิดที่จะทำให้รวย แม้จะมีเพื่อนบางคนบอกว่า มันเป็นงานใช้สมอง หาคนทำยาก ควรจะต้องแพง ไม่จริงเลยค่ะ ท่านสามารถหาดูจากบทความรับทำสื่อเก่า ๆ ได้ ในบล็อกแห่งนี้ ว่าราคาถูกกว่าชาวบ้านชาวช่องที่เค้ารับทำ ครึ่งต่อครึ่ง แล้วงานที่ทำทุกชิ้นเป็นความลับค่ะ ไม่เอาไปขายต่อ สร้างใหม่ทุกชิ้น ไม่อัพขึ้นเว็บ สนใจอยากดูผลงานติดต่อ แอนได้เลยนะคะ

วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

Cai สื่อ offline กับ ebook.

มีคำถามเกิดขึ้นมานะคะว่า cai หรือคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเนี่ย มันเหมือนหรือแตกต่างจาก ebook ที่เค้ากำลัง ฮิต ๆ ฮอต ๆ กันอยู่เนี่ย อย่างไร
คำตอบ คงจะตอบอยู่สองคำถามนะคะ

เหมือนกันก็คือ:มันคือสื่อเหมือนกันค่ะ ยกตัวอย่าง Amazon kindle อันโด่งดังนะคะ มันคือเครื่องสำหรับอ่าน ebook นั่นเองค่ะ รายละเอียดลองเข้าไปดูเองนะคะ คิดว่าไม่เกี่ยวกับคำตอบเท่าไหร่ แต่ ebook จุดประสงค์ที่แท้จริง มันก็คือหนังสือ ไฟฟ้า หรือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นั่นเอง เหมือนกับ cai อย่างไร คงไม่ยากนะคะสำหรับคำตอบ

แตกต่างกันคือ:ebook เน้นไปที่เนื้อหา จริง ๆ แล้วก็เคยเห็น ebook ที่เค้าเรียกกัน เป็นไฟล์ pdf ไม่แตกต่างกับการสแกนหน้าหนังสือมาไว้ในเครื่องแล้วเปิดอ่านเอาเลย อย่างงั้นบางคนเค้าก็เรียก ebook เหมือนกัน แตกต่างโดยสิ้นเชิงกับ cai มันคือเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วล่ะค่ะ ว่าคอม ฯ ช่วย เพราะฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างเบ็ดเสร็จสำเร็จในตัวของมันเอง ตั้งแต่เริ่มเรียนจนสามารถทำข้อสอบได้

เอาล่ะค่ะ วันนี้ ทางทีมงานของเรา ฝากประชาสัมพันธ์ แต่เนิ่น ๆ ว่า ใกล้จะถึง ฤดูกาลสร้าง รับทำ cai กันแล้วนะคะ เตรียมตัวเสียแต่วันนี้ จะได้มีเวลาแก้ไข นำไปทดลอง ทดสอบ จะแน่ใจ ว่าเครื่องมือเรา เจ๋ง แค่ไหน จะได้ผ่าน ๆ กันไปนะคะ มีอะไรให้ช่วยเหลือ ติดต่อตามเบอร์แอน เลยนะคะ ถ้าหาไม่เจอ เหลือบมองด้านบนเลยค่ะ

วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2551

รับทำ cai,รับทำสื่อการสอน,รับทำคอมพิวเตอร์ช่วยสอน,courseware ต่าง ๆ

รับทำ cai ค่ะ สื่อ cai ย่อมาจาก computer assisted instruction(CAI) นะคะเผื่อหลาย ๆ ท่านอาจจะยังไม่ทราบ
เราทำงานเป็นทีมค่ะ รับทำ cai ทำสื่อการสอน ด้วยโปรแกรม authorware,captivate และ flash
ความแตกต่าง ระหว่าง captivate,flash และ authorware
เริ่มจาก authorware ก่อนแล้วกันนะคะ โปรแกรม authorware นั้นสามารถสร้าง cai ได้ดีเลยทีเดียว แต่ถ้าจะนับลูกเล่นแล้ว ยังแพ้ flash อยู่เยอะค่ะ งบประมาณสำหรับงานที่ใช้โปรแกรมนี้สร้าง อยู่ที่ประมาณ 15,000 บาทขึ้นไป จนถึง 30,000 บาท
ในส่วนของ flash นั้น ไม่ต้องกล่าวสรรพคุณอะไรมาก ตัวโปรแกรมสามารถสร้างหนังได้เป็นเรื่อง ๆ เลยทีเีีดียว แต่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง อาจจะต้องเริ่มต้นด้วยเงินถึง 30,000 บาทสำหรับงาน เจ๋ง ๆ ซักชิ้นนะคะ
สุดท้าย captivate นั้น ขอเตือนเลยนะคะสำหรับบางท่านที่ไปจ้างแล้ว เค้าบอกจะใช้ captivate หรืออาจจะบอกว่าใช้ flash แต่จริง ๆ สร้างด้วย captivate หลาย ๆ ท่านโดนหลอก เพราะคนไม่ดี เพียงไม่กี่คน มาทำลาย วงการนี้ จริง ๆ แล้วโปรแกรมนี้สร้าง ง่ายมาก ๆ ค่ะแต่เพราะอาจจะมีคนรู้จักน้อย หรืออย่างไรไม่ทราบ หรือคนใช้โปรแกรมนี้เป็นยังมีน้อย งบประมาณในการสร้างงานด้วยโปรแกรมนี้อาจจะอยู่ที่ 10,000 ถึง 15,000 บาทเท่านั้นค่ะ ตามเนื้องาน
สำหรับท่านใด ที่ประสงค์อยากจะเรียน การสร้างสื่อ cai ด้วย captivate โทรมาปรึกษาได้นะคะ ที่เบอร์ 089-7159622 แอนค่ะ
พอดี สมัยที่ยังเป็นนักศึกษา ป.โท อยู่นั้น ได้เคยรู้จัก และใช้งานโปรแกรมนี้ เลยทำให้รู้สึกว่าง่ายมาก เห็นแล้วอดรนทนไม่ไหว เลยต้องขอออกมาบอกว่า authorware ทำ cai นั้นเรียกว่า classic อยู่มาก เพราะไม่อย่างนั้น authorware คงอยู่มาไม่ได้จนถึงทุกวันนี้ ถึงแม้จะมีโปรแกรมต่าง ๆ นา ๆ ผุดขึ้นมาแข่ง แต่สุดท้ายแล้ว โปรแกรมเฉพาะทาง ทาง cai authorware นั้นถือได้ว่า เกิดมาเพื่อสร้างสื่อ cai โดยเฉพาะเลยล่ะค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2551

รับทำ cai ด้วย flash และ authotware

รับทำ cai ด้วย flash และ authotware ผลงานครู นักศึกษาปริญญาตรี และปริญญาโท หรือของหน่วยงานต่าง ๆ สามารถนัดคุยเพื่อดูผลงาน ทำโดยทีมงานที่มีประสบการณ์ สนใจติดต่อ แอน 0835666259, เอิ๊ก 084-6485686
จบปริญญาโทเทคโนโลยีการศึกษาโดยตรง
นอกจากนั้นยังรับทำ wbi courseware ด้วยโปรแกรม flash

วันอังคารที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2551

E-learning กับ สื่อการสอน

E-learning คืออะไร จริง ๆ แล้วคำว่า e learning แปลตรง ๆ ตัวก็คือ การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อ้าว แล้วมันแตกต่างจาก cai อย่างไรล่ะ ขออธิบายง่าย ๆ ละกันนะคะ
cai นั้นคือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งพูดง่าย ๆ ก็คือ มันออฟไลน์ เล่นจากแผ่นซีดีน่ะเอง
elearning นั้น จะออนไลน์ หรือ ออฟไลน์ก็ได้ อาจจะหมายความว่า cai เป็นส่วนหนึ่งของ elearning นั่นเอง หมายความว่า cai เป็นส่วนย่อย ๆ ส่วนหนึ่งของ elearning เท่านั้น wbi ก็เป็นส่วนหนึ่งของ elearning ถ้างั้น courseware ล่ะ มันคืออะไร คอร์สแวร์นั้น จะเป็นอะไรก็ได้ จะเป็น cai หรือ wbi ก็ได้ แต่คำว่า coursre นั้นกำหนดว่าต้องจบหนึ่งคอร์สอะไรทำนองนั้น เช่น คอร์สนี้เรียน 7 สัปดาห์ courseware นั้นก็ต้องมีเนื้อหาที่ให้ผู้เรียนเรียนจบภายใน 7 สัปดาห์ เป็นต้น
สุดท้าย ขอฝากประชาสัมพันธ์นะคะ สำหรับท่านที่ต้องการทำ elearning ทุกชนิด cai หรือ wbi และ courseware ทุกท่าน หากต้องการจ้างทำงาน โทรมาได้เลยนะคะ ที่เบอร์ แอน 0839130614 หรือ 0847746005 สอบถามรายละเอียดได้ค่ะ ทำได้ทุกวิชา...

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ลักษณะของสื่อการสอน

รูปแบบของสื่อ CAI นั้นอาจจะแบ่งแยกได้เป็น 3 ลักษณะ ถ้าแบ่งตาม การดำเนินเรื่องนะคะ
1.linear
2.branch
3.ผสมกันระหว่าง 1 และ 2
Linear คือ รูปแบบการดำเนินแบบเส้นตรงค่ะ ยังไงน่ะเหรอ ก็คือ จากต้นจนจบ เรียงตามลำดับมาเรื่อย
คลิ๊ก next อย่าง เดียว หรือ อาจจะมี Back บ้าง ดำเนินเรื่องตามเนื้อหาไปเรื่อย ๆ
Branch คือ มีการแบ่ง กิ่งก้านสาขา(แปล ตรง ๆ) คือ มีเมนูหลัก มีให้เลือก บทที่ 1 บทที่ 2
เลือกทำแบบฝึกหัด อะไรแบบเนี๊ยะค่ะ
แบบผสมก็คือเอาทั้งสองแบบมารวมกัน

เราจะเลือกใช้อย่างไร - อย่างที่เคยบอกไว้แล้วนะคะ ว่าสื่อการสอนนั้นไม่ได้มีอะไรดีกว่าอะไร เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่า แบบ Linear ไม่ดี หรือ Branch ไม่ดี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมมากกว่า เช่น เนื้อหานี้ เด็กจำเป็นจะต้องเรียนหัวข้อนี้มาก่อน ไม่งั้นจะเรียนไม่รู้เรื่อง ถ้าหากว่าเราเลือก Brach มาใช้ ก็จะเป็นการไม่เหมาะสมใช่มั๊ยคะ เด็กอาจจะไม่เลือกตามลำดับก็เป็นได้
ฉะนั้น ลองเลือกดูนะคะว่า ควรจะออกแบบสื่อ CAI ของเรา ให้เป็นลักษณะไหน แบบที่ สามนั้น ก็เป็นการผสมผสานที่น่าสนใจค่ะ เพราะมันจะนำเอาข้อดี ของทั้งสองแบบมารวมกัน ยกตัวอย่างนะคะ
เราอย่างจะให้เด็กนั้น อ่านคู่มือการใช้ CAI ก่อนที่จะเข้าบทเรียน เพื่อที่เด็กจะได้ใช้เครื่องมืออย่างถูกต้อง
เราก็ต้องบังคับให้อ่านใช่มั๊ยคะ นั่นก็คือ Linear ทีนี้พอเด็กอ่านผ่านมาแล้วเกิดจำไม่ได้ เราก็จัดไว้ที่ เมนูหลักอีกซักหน่อยว่า แนะนำการใช้งาน ... อะไรก็ว่าไป เห็นไหมคะ หลักการผสมผสาน สมัยนี้ ให้เราทำตรง ๆ เรายังเบื่อเองเลยค่ะ นับประสาอะไรกับเด็ก เพราะฉะนั้น CAI ทำกันเยอะ ทำกันเกร่อ ซ้ำ ๆ กัน แต่จะทำอย่างไรให้ เครื่องมือเราดีกว่า อยู่ที่สามารถแก้ปัญหาได้ถูกจุด กับลูกเล่นและการออกแบบค่ะ ว่าง ๆ จะสอนทำ โปรแกรม flash หรือ Authorware นะคะ เพื่อที่จะได้นำไปใช้ในสื่อของเราอย่างสนุกสนานค่ะ

วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2551

สิ่งที่ควรมีในสื่อการสอน CAI

 อะไรคือสิ่งที่ควรมีใน สื่อการสอน CAI
ความจริงเกี่ยวกับสื่อการสอน CAI ที่ว่าควรมีอันนั้น ควรมีอันนี้ ไม่ใช่สิ่งผิดแค่อยากบอกว่า มันอาจจะไม่ถูกทั้งหมด ถ้าถามว่าระหว่างWBI CAI หรือ E Book สื่อตัวไหนที่ดีที่สุด ก็คงบอกไม่ได้ใช่มั๊ยล่ะคะ เพราะสิ่อแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกัน การเลือกใช้ให้เหมาะกับวัตถุประสงค์ในการใช้งานต่างหาก คือสิ่งที่ควรทำ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ควรมีในสื่อ CAI นั้นก็ต้องดูที่วัตถุประสงค์การใช้งานของ CAI ก่อนว่า จะเอาไปทำอะไร สอนเด็กชั้นไหน ถึงจะบอกได้ว่าต้องเพิ่มหรือลดอะไรในสิ่อของเรา เพื่อให้เหมาะสมที่สุดในการใช้งานกับกลุ่มตัวอย่าง

วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Backword Design

Backword Design คืออะไร กระบวนการเรียนรู้ซึ่ง วิกกินส์และแม็คไท เสนอการออกแบบ ด้วยการกำหนดความรู้ฝังแน่น เป็นเป้าหมายก่อน พร้อมทั้งเลือกการแสดงออกของผู้เรียนเป็นหลัก วิธีการนี้พัฒนาสืบเนื่องมาจากแนวพัฒนาการศึกษาในอเมริกา ที่เห็นว่าการเรียนรู้ที่เน้นความจำมาก
เกินไป จึงนำการเรียนรู้ที่เน้นความเข้าใจที่คงทน หรือความรู้ฝังแน่น ซึ่งเน้นย้ำให้ผู้เรียน เป็นผู้สร้าง
ความรู้ได้เองผ่านการคิดที่ลึกซึ้ง กระบวนการคิดระดับสูง ผ่านการแสดงออกทางกิจกรรม คำถาม
ท้าทาย เอาเป็นว่างงอ่ะ สรุปง่าย ๆ ก็คือ กระบวนการย้อนกลับจากทุกวันนี้ ที่ครูสอนตามหนังสือ ยกทฤษฎีหลักการขึ้นมาก่อน อธิบาย สรุป แต่กระบวนการ Backword คิดก่อนว่า ผู้เรียนต้องรู้อะไร ย้อนกลับไปหากิจกรรมที่ทำ แล้วจึงสรุปออกมาเป็นทฤษฎี เป็นไงคะ ซึ่ง ณ ขณะนี้เห็นสื่อหลาย ๆ แบบในเมืองไทยเริ่มนำหลักการนี้มาใช้ หวังว่าคงจะประสบความสำเร็จนะคะ

วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ราคาในการรับทำสื่อการสอน cai

รับทำ cai สื่อการสอน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำหรับนักศึกษาทำโปรเจค หรือทำผลงานอาจารย์ เพื่อใช้ในการเลื่อนระดับหรือนำไปใช้งาน ด้านการเรียนการสอนก็ได้ ในราคาที่สมเหตุสมผล
1) เนื้อหาสื่อ 1 บท มีแบบทดสอบหรือแบบฝึกหัดรวมกัน 50 ข้อ ราคา 8000 บาท พร้อมแก้ไขจนกว่าจะพอใจ แต่ไม่เกิน 3 รอบ (ในกรณีที่ท่านไม่ได้ออกแบบสื่อมาให้ ขอคิดค่าออกแบบด้วยนะคะ story board)
2) เนื้อหา 3 บท มีแบบทดสอบหรือแบบฝึกหัดรวมกันไม่เกิน 100 ข้อ แบบเลือกตอบ (ก.ข.ค.)คิด 12000 บาทค่ะ
3) ความจริงแล้วนะคะ คุยกันตกลงกันได้ค่ะเรื่องราคา เพราะส่วนใหญ่จะตกลงคุยกันก่อนอาจจะถูกหรือแพงกว่านี้ก็แล้วแต่ปริมาณข้อมูลนะคะ แล้วแต่เจ้าของผลงานเตรียมข้อมูลมาให้ ไม่ได้เป็นกฎเกณฑ์อะไรตายตัว เพราะส่วนใหญ่ก็ต่อตามประเพณีคนไทยคะ

**** หมายเหตุ ****
ปัญหาที่ประสบมาโดยตรงนะคะ
- เงินมัดจำ ไม่เก็บค่ะ แล้วสุดท้าย บางท่านก็หายไปซะเฉย ๆ
- รูปแบบ ค่ะ บางท่านมีรูปแบบอยู่ในใจแล้วก็ดีนะคะ บางทีแก้หลายรอบเหนื่อยค่ะ
- เนื้อหาส่วนใหญ่ถ้าพิมพ์ไว้แล้วจะดีมากค่ะ จะเร็วจี๊เลย

+++ รูปแบบข้อสอบที่ทำได้นะคะ+++
- ตัวเลือก(ก ข ค)
- เติมคำในช่องว่าง
- ลากคำศัพท์หรือภาพ
- จับคู่โยงเส้น