รูปแบบของสื่อ CAI นั้นอาจจะแบ่งแยกได้เป็น 3 ลักษณะ ถ้าแบ่งตาม การดำเนินเรื่องนะคะ
1.linear
2.branch
3.ผสมกันระหว่าง 1 และ 2
Linear คือ รูปแบบการดำเนินแบบเส้นตรงค่ะ ยังไงน่ะเหรอ ก็คือ จากต้นจนจบ เรียงตามลำดับมาเรื่อย
คลิ๊ก next อย่าง เดียว หรือ อาจจะมี Back บ้าง ดำเนินเรื่องตามเนื้อหาไปเรื่อย ๆ
Branch คือ มีการแบ่ง กิ่งก้านสาขา(แปล ตรง ๆ) คือ มีเมนูหลัก มีให้เลือก บทที่ 1 บทที่ 2
เลือกทำแบบฝึกหัด อะไรแบบเนี๊ยะค่ะ
แบบผสมก็คือเอาทั้งสองแบบมารวมกัน
เราจะเลือกใช้อย่างไร - อย่างที่เคยบอกไว้แล้วนะคะ ว่าสื่อการสอนนั้นไม่ได้มีอะไรดีกว่าอะไร เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่า แบบ Linear ไม่ดี หรือ Branch ไม่ดี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมมากกว่า เช่น เนื้อหานี้ เด็กจำเป็นจะต้องเรียนหัวข้อนี้มาก่อน ไม่งั้นจะเรียนไม่รู้เรื่อง ถ้าหากว่าเราเลือก Brach มาใช้ ก็จะเป็นการไม่เหมาะสมใช่มั๊ยคะ เด็กอาจจะไม่เลือกตามลำดับก็เป็นได้
ฉะนั้น ลองเลือกดูนะคะว่า ควรจะออกแบบสื่อ CAI ของเรา ให้เป็นลักษณะไหน แบบที่ สามนั้น ก็เป็นการผสมผสานที่น่าสนใจค่ะ เพราะมันจะนำเอาข้อดี ของทั้งสองแบบมารวมกัน ยกตัวอย่างนะคะ
เราอย่างจะให้เด็กนั้น อ่านคู่มือการใช้ CAI ก่อนที่จะเข้าบทเรียน เพื่อที่เด็กจะได้ใช้เครื่องมืออย่างถูกต้อง
เราก็ต้องบังคับให้อ่านใช่มั๊ยคะ นั่นก็คือ Linear ทีนี้พอเด็กอ่านผ่านมาแล้วเกิดจำไม่ได้ เราก็จัดไว้ที่ เมนูหลักอีกซักหน่อยว่า แนะนำการใช้งาน ... อะไรก็ว่าไป เห็นไหมคะ หลักการผสมผสาน สมัยนี้ ให้เราทำตรง ๆ เรายังเบื่อเองเลยค่ะ นับประสาอะไรกับเด็ก เพราะฉะนั้น CAI ทำกันเยอะ ทำกันเกร่อ ซ้ำ ๆ กัน แต่จะทำอย่างไรให้ เครื่องมือเราดีกว่า อยู่ที่สามารถแก้ปัญหาได้ถูกจุด กับลูกเล่นและการออกแบบค่ะ ว่าง ๆ จะสอนทำ โปรแกรม flash หรือ Authorware นะคะ เพื่อที่จะได้นำไปใช้ในสื่อของเราอย่างสนุกสนานค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น